วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 17


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 17
วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  Tablet ลงในแผ่นกระดาษ และได้ให้นักษาร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันอีกครั้ง
- อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการประเมินผลในตัวนักศึกษา
- อาจารย์บอกถึงแนวข้อสอบที่จะออก
- อาจารย์ตรวจบล๊อกเกอร์ของแต่ละคนว่าพบปัญหาหรือไม่ ?
- วิธิการเรียนรู้ มีหลายอย่างดังนี้
  1.กระบวนการแก้ปัญหา
  2.ระดทความคิด
  3.เขียนบันทึก
  4.สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
  5.การเป็นแบบอย่าง
  6.ลงมือปฏิบัติ
  7.แผนที่ความคิด
  8.บูรณาการ 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16 
วันที่ 18 กันยายน 2555

กิจกรรม
  • อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานและรูปถ่ายที่ไปจัดกิจกรรมให้น้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม โดยกลุ่มดิฉันรายงานในอาทิตย์ถัดไป

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2555
 

- วันนี้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม


(ภาพวาดล่องหน)


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 4กันยายน พ.ศ.2555

- อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายนิเทศที่ทำมาส่ง และร่วมกันเสนอความคิดเห็น เพื่อนำไปแก้ไขพัฒนาปรับปรุงต่อไป
- อาจารย์ให้ส่งสมุดวิธีการพับดอกไม้
- ตกลงเรื่องการไปจัดฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13(เรียนชดเชย)

วัน เสาร์ ที่ 1 กรกฏาคม 2555


* เรียนชดเชย

 ได้อบรมกับวิทยากรที่มีความรู้ในการตัดกระดาษและการจัดบอร์ด ทำให้ได้เทคนิคและวิธีการตัดกระดาษและการจัดบอร์ดมากมายในการนำไปใช้ในอนาคต เช่น-การทำดอกบัว จากกระดาษ-การทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่ จากกระดาษ-การทำดอกไม้เป็นรูปหัวใจ-การทำดอกมะลิจากทิชชู-การทำใบไม้

งานที่ได้รับมอบหมาย
        *จัดบอร์ด 1 บอร์ด กลุ่ม 3 คน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12

         วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2555


         วันนี้อาจารย์ได้จัดอบรมการทำสื่อจัดป้ายนิเทศ หรือจัดบอร์ดโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ให้แก่นักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่ห้องศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วันนี้ได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อหลากหลายอย่างดังนี้

-การทำดอกบัว จากกระดาษ

-การทำดอกกุหลาบแบบแยกกลีบโดยใช้แม็กเย็บ
-การทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่ จากกระดาษ
-การทำดอกไม้เป็นรูปหัวใจ
-การทำดอกมะลิจากทิชชู
-การทำใบไม้





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันที่ 21/08/55 

            อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มๆละ 10 คน และแจกหนังสือให้กลุ่มละ 1 เล่ม 
กลุ่มดิฉันได้เรื่อง สาระบุคคลละสถานที่ิ่สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็ก ชุด 2

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มบอกชื่อหนังสือตามกลุ่มที่ตนเองได้ ดังนี้
ชุด1 ตัวเด็ก
ชุด2 บุคคลและสถานที่
ชุด3 ธรรมชาติรอบตัว
ชุด4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

ในแต่ละชุดอาจารย์ให้เลือกหัวข้อมา1หัวข้อ

ชุด1 เลือกหัวข้อ "ใครใหญ่"
แนวคิด 
น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดมือเราเอง


ขั้นตอน
1. นำขวดแก้วใสมาวางไว้
2. เทน้ำใส่ลงไปให้ได้ครึ่งขวดทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้
3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
4. ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
5, ให้เด็กช่วยกันสรุปผล


สรุปผล
ระดับน้ำในขวดแก้วจะสูงขึ้นมาจากเดิมตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน

ชุด2 เลือกหัวข้อ "ใบไม้สร้างภาพ"
แนวคิด
สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง


ขั้นตอน
1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
4. ใช้ค้อนค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้อยู่
5. เมื่อเปิดกระดาษวาดดเขียนออกให้เด็กๆคิดหาเหตุผล
สรุปผล
1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างบนกระดาษ
2. โครงร่างที่ได้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

ชุด3 เลือกหัวข้อ "มาก่อนฝน"
แนวคิด
น้ำเมื่อได้รับความร้อนบางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า "ไอน้ำ"


ขั้นตอน
1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นไว้โดยให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวดวางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่2
5. เมื่อหยุดเป่าจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ


สรุปผล
1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2. กลุ่มเมฆจางๆในขวด  เกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายออกไป
3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้น ไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่น กลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ

ชุด4 เลือกหัวข้อ "ทำให้ร้อน"


แนวคิด
แรงเสียดทานเป็นแรงที่พยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน


ขั้นตอน
1. ครูแจงดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
2 ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 5 วินาที
4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก
5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส


สรุปผล
1. แรงเสียดระหว่างดินสอกับหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2. นำส่วนที่ได้ถูกับหนังสือของดินสอมาแตะกับผิวหนังโดยเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำการทดลองที่ง่ายๆเพื่อจัดให้กับเด็ก โดยมี แนวคิด ขั้นตอน และสรุปผล                             
    

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

 วันที่ 14 สิงหาคม 2555


            ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม 
      แต่นัดมาเรียนชดเชยวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9


บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9
วันอังคารที่  7 สิงหาคม 2555

        ไม่มีการเรียนการสอน  แต่มีการเรียนการสอนชดเชยในวันอาทิตย์  25  กันยายน  2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนครั้งที่  8


* วันที่ 31 กรกฎาคม  2555

  • ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก มีการสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

      วันอังคาร ที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2555 

ความรู้ที่ได้รับ

 - อาจารย์พูดถึงเรื่อง สื่อ
- เป้าหมายในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐฒวัย
- พูดคุยถึงเรื่องวิทยาศาสตร์
- ประสบการณ์สำคัญ
- ลำดับมีอะไรบ้าง
- เด็กเรียนรู้ผ่านตามากที่สุด
- พูดถึงเกณฑ์การวัดการประเมิน
- การจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 

วันอังคารที่่ 17 กรกฎาคม 2555


1. เป้าหมายของการทำของเล่น
- การเล่นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
- เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น
- การเล่นทำให้มีการวางแผนและจัดลำดับอย่างมีขั้นตอน


2. การเล่นเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
- มีการสนทนาอภิปรายซักถาม
- เด็กได้สัมผัสจริงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5
*การจัดประสบการร์โดยการจำแนกสำหรับเด็กจะต้องให้เกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์เท่านั้น


3. ทำกิจกรรมเขียนสรุปหน่วยการเรียนรู้อนุบาลทั้ง 3 ชั้นปี

*** งานที่ได้รับมอบหมาย ***

เขียนประสบการณ์สำคัญตามหน่วยการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย

บันทึกการเรียนครั้งที่5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 10 กรกฏาคม  พ.ศ.2555

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  นำเสนอผลงานของตนเอง  โดยทำคู่กับเพื่อน 2 คน  ดิฉันและเพื่อนได้ประดิษฐ์  จานหมุนสีและกล้องส่องทางไกล  ดิฉันได้นำเสนอผลงานพร้อมสาธิตวิธีการเล่น  และอาจารย์ได้ให้ดิฉันไปเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร 


บันทึกการเรียนครั้งที่4


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

-วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดิโอเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำให้นักศึกษาดูแล้ววิเคราะห์ในห้องเรียน

น้ำเป็นสสารชนิดเดียวในโลกที่ปรากฏตามธรรมชาติพร้อมกันทั้ง 3  สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ  คุณสมบัติอันน่าทึ่งนี้ควบคู่ไปกับความสามารถอันใหญ่หลวงในการรับและถ่ายทอดพลังงานความร้อนของน้ำ ทำให้น้ำมีบทบาทสำคัญในการรักษาอุณหภูมิของบรรยากาศให้เหมาะสม และสร้างวงจรของน้ำขึ้นสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ 
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะดูดซับความร้อนเข้าไปมากขึ้น จนน้ำส่วนหนึ่งกลายเป็นไอ โดยน้ำ 1 กรัม ที่อุณหภูมิ 10  องศาเซลเซียส จะระเหยกลายเป็นไอได้ต้องดึงความร้อนจากสิ่งแวดล้อมไปใช้ถึง 629 แคลอรี่ ทำให้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ
เย็นลงได้
น้ำนั้นเป็นองคืประกอบสำคัญของมนุษย์เรา เมื่อคนเราเสียเหงื่อจากเหตุผลอะไรก็แล้วแต่จะทำให้ร่างกาย ของคนเรานั้น สูญเสียพลังงานในร่างกาย ทำให้เราอ่อนแรงได้ เพราะฉะนั้นคนเราจะต้องรับประทานน้ำอย่างต่ำวันละ 8 แก้ว ทดแทนการสูญเสียเหงื่อ

  • ทำให้ในร่างกายมีน้ำโดยประมาณ 70 %
  • ในผลไม้มีน้ำอยู่ดดยประมาณ 90 %
และอูฐสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องกินน้ำได้นานที่สุดประมาณ 10 วัน เพระอูฐนั้นสามารถเก็บไขมันที่อยู่ด้านหลังของมัน และไขมันนั้นสามารถน้ำมาเปลี่ยนแปลง เป็นน้ำหล่อเลี้ยงร่างกายของมันเอง 


งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาผลิตสื่อของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 2 คนต่อ 2ชิ้น  พร้อมวิธีทำเป็นขั้นตอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่3
 อังคารที่ 26มิถุนายน 2555

ความรู้ที่ได้รับ


บันทึกการเรียนครั้งที่2


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 1.การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แสดงออกมาซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกัน
 2.การรับรู้เกิดจากการรับข้อมูลแต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใด
 3.เมื่อมีการรับรู้ข้อมูลมากๆ ทำให้เกิดการทับซ้อนและเชื่อมโยงของข้อมูล*จึงเกิดเป็นความรู้ใหม่*เป็นการทับซ้อนของข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่

วิธีการเรียนรู้ 
 เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5กระทำกับวัตถุ(ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส) 
วิทยาศาสตร์ 
 แบ่งออกเป็นสาระกับทักษะ
          สาระ - เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก บุคคลสถานที่และสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
          ทักษะ - สังเกต  จำแนก การสื่อความหมาย ลงความเห็นจากข้อมูล การหาความสำคัญพื้นที่ ต่อพื้นที่และพื้นที่กับเวลา

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - สังเกต เปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและนำไปใช้ 
การจัดประสบการณ์  ทฤษฎีการจัด หลักการจัดกระบวนการจัด เทคนิคการจัด สื่อสนับสนุนในการจัดการประเมินผล

งานที่ได้มอบหมาย
1.หาสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็ก อายุ ขวบ
2.หาสิ่งที่จะสอนเด็กมา อย่าง และจับกลุ่ม คน

บันทึกการเรียนครั้งที่1



บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
ครั้งที่ 1 วันที่ 12 มิถุนาคม 2555 

     -วันนี้อาจารย์ได้ปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชาแก่นักศึกษาและอาจารย์ให้นักศึกษาลงชื่อมาเรียนให้เรียบร้อย

     งานที่มอบหมาย
ให้นักศึกษาไปหามาตราฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และลิงค์ใส่ในบล็อกของตนเอง
- ให้นักศึกษาสร้างบล็อกของตัวเอง