วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันที่ 21/08/55 

            อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มๆละ 10 คน และแจกหนังสือให้กลุ่มละ 1 เล่ม 
กลุ่มดิฉันได้เรื่อง สาระบุคคลละสถานที่ิ่สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็ก ชุด 2

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มบอกชื่อหนังสือตามกลุ่มที่ตนเองได้ ดังนี้
ชุด1 ตัวเด็ก
ชุด2 บุคคลและสถานที่
ชุด3 ธรรมชาติรอบตัว
ชุด4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

ในแต่ละชุดอาจารย์ให้เลือกหัวข้อมา1หัวข้อ

ชุด1 เลือกหัวข้อ "ใครใหญ่"
แนวคิด 
น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดมือเราเอง


ขั้นตอน
1. นำขวดแก้วใสมาวางไว้
2. เทน้ำใส่ลงไปให้ได้ครึ่งขวดทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้
3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
4. ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
5, ให้เด็กช่วยกันสรุปผล


สรุปผล
ระดับน้ำในขวดแก้วจะสูงขึ้นมาจากเดิมตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน

ชุด2 เลือกหัวข้อ "ใบไม้สร้างภาพ"
แนวคิด
สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง


ขั้นตอน
1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
4. ใช้ค้อนค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้อยู่
5. เมื่อเปิดกระดาษวาดดเขียนออกให้เด็กๆคิดหาเหตุผล
สรุปผล
1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างบนกระดาษ
2. โครงร่างที่ได้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

ชุด3 เลือกหัวข้อ "มาก่อนฝน"
แนวคิด
น้ำเมื่อได้รับความร้อนบางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า "ไอน้ำ"


ขั้นตอน
1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นไว้โดยให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวดวางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่2
5. เมื่อหยุดเป่าจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ


สรุปผล
1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2. กลุ่มเมฆจางๆในขวด  เกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายออกไป
3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้น ไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่น กลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ

ชุด4 เลือกหัวข้อ "ทำให้ร้อน"


แนวคิด
แรงเสียดทานเป็นแรงที่พยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน


ขั้นตอน
1. ครูแจงดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
2 ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 5 วินาที
4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก
5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส


สรุปผล
1. แรงเสียดระหว่างดินสอกับหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2. นำส่วนที่ได้ถูกับหนังสือของดินสอมาแตะกับผิวหนังโดยเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำการทดลองที่ง่ายๆเพื่อจัดให้กับเด็ก โดยมี แนวคิด ขั้นตอน และสรุปผล                             
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น